ตะบุ้ย ๆ คือ
- (ปาก) ว. อาการที่บอกส่ง ๆ ไปหรือทำให้พ้น ๆ ไป.
- ตะ ก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.
- ตะบุ้ย ( ปาก ) ว. อาการที่บอกส่ง ๆ ไปหรือทำให้พ้น ๆ ไป.
- บุ ก. ตีให้เข้ารูป เช่น บุขัน, เอาของบาง ๆ หุ้มข้างนอก เช่น บุหนัง บุพลาสติก หรือรองข้างใน เช่น บุหลังคา.
- บุ้ย ก. ทำปากยื่นบอกใบ้ให้รู้.
- ตะบี้ตะบัน (ปาก) ว. ซ้ำ ๆ ซาก ๆ, ไม่รู้จักจบจักสิ้น, ไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เถียงตะบี้ตะบัน.
- ตะบิดตะบอย ว. แกล้งให้ชักช้า, ชักช้าร่ำไร.
- ตะบึงตะบอน กระเง้ากระงอด เจ้าแง่แสนงอน แสนงอน
- ตะบม ว. ร่ำไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น เที่ยวตะบม.
- ตะบอง น. ไม้สำหรับถือ ใช้ตี โดยมากมีรูปกลม, ที่มีขนาดยาวประมาณ ๔ ศอก เรียกว่า ตะบองยาว ที่มีขนาดยาวประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า ตะบองสั้น, กระบอง หรือ ตระบอง ก็ว่า.
- ตะบอย ว. อาการที่ทำอย่างชักช้าร่ำไร.
- ตะบัน ๑ pic038.jpg (ตะบัน) น. เครื่องตำหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทำด้วยทองเหลือง มีลูกตะบันสำหรับตำ และมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกดลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง
- ตะบันน้ํา โครงสร้างชลศาสตร์
- ตะบันไฟ pic039.jpg (ตะบันไฟ) น. ของอย่างหนึ่งรูปคล้ายตะบัน ทำด้วยเขาควายเป็นต้น มีลูกตะบันสำหรับตบลงไปในกระบอกโดยเร็วเพื่อให้เกิดไฟติดเชื้อที่ปลายลูกตะบันนั้น.
- ตะบิด ก. บิด เช่น โพกผ้าพันตะบิดถือกริชกราย. (อิเหนา).
- ตะบิ้ง น. นาที่เป็นกระทงเล็ก ๆ, กระบิ้ง ก็เรียก.